top of page
รูปภาพนักเขียนYou-Dee Organization

What is burnout ? And how to deal with it. วิธีจัดการกับ Burnout

อัปเดตเมื่อ 19 เม.ย. 2566



ทำความรู้จักอาการ “Burnout” กันก่อน

Burnout คืออะไร ? Burnout หมายถึง อาการเหนื่อย รู้สึกท้อ หมดเรี่ยวแรงในการทำงานหรือภาระหน้าที่ที่ทำอยู่ หรือที่เราเรียกกันว่า “หมดไฟ”


อาการ Burnout จะทำให้เรารู้สึกท้อ หมดกำลังใจ ซึ่งจะนำไปสู่ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง หรือก็คือกีดกันเราจากความ Productive นั่นเอง


ไม่ใช่แค่กับเรื่องงานเท่านั้น ไม่ว่าจะเรื่องเรียน เรื่องครอบครัว เรื่องสังคม หรือแม้แต่เรื่องความรัก ก็สามารถเกิดอาการ Burnout ได้เหมือนกัน


การเรียน Online & Work from Home คงทำให้หลายคนเกิดอาการ Burnout กันใช่หรือเปล่า ? Burnout เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับทุกคนอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นการรู้สึก Burnout บ้างไม่ใช่เรื่องแปลกเลย แต่หากเรารู้สึก Burnout ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานก็อาจส่งผลเสียต่อหน้าที่การงานได้ และอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจในระยะยาว


อาการ Burnout แบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ

  • Overload burnout เกิดจากการทำงานหนักเกินไป โดยไม่จัดตารางเวลาที่เหมาะสม

  • Under-challenged burnout รู้สึกเบื่องาน/สิ่งที่ทำอยู่

  • Neglect burnout เกิดจากการที่เรารู้สึกหมดหวัง ไม่รู้จะไปต่อยังไง รู้สึกมาไม่ถูกทาง ขาดความเชื่อมั่นในความสำเร็จ

ซึ่งทั้งหมดนี้จะทำให้เราปล่อยปละเลยและสุดท้ายก็อาจทิ้งงาน/หน้าที่นั้นไปในที่สุด


แต่ไม่ต้องห่วง เพราะพวกเรามีวิธีจัดการกับอาการ Burnout มาบอก !

How to deal with BURNOUT ?


  • Get enough sleep พักผ่อนให้เพียงพอ เป็นวิธีที่ง่ายและสำคัญมาก การนอนหลับให้เพียงพอจะช่วยลดความเครียด และส่งผลดีต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจอย่างมาก

  • Try a relaxing activity ทำกิจกรรมผ่อนคลาย เช่น โยคะ นั่งสมาธิ จะช่วยให้จิตใจสงบและลดความเครียดได้เป็นอย่างดี

  • Talk with your supervisor คุยกับหัวหน้างาน/อาจารย์ การได้ปรึกษาปัญหากับผู้ที่ดูแลเราโดยตรงจะทำให้เราเข้าใจสาเหตุของปัญหามากขึ้น และช่วยกันหาวิธีแก้ไข

  • Find support ปรึกษากับเพื่อนที่ไว้ใจหรือคนในครอบครัวจะทำให้รู้สึกสบายใจมากขึ้น อาจจะไม่ได้ปรึกษาเพื่อหาทางออก แต่แค่ระบายความในใจก็ได้

  • Get moving ขยับร่างกาย ยืดเส้นยืดสาย การออกกำลังกายนอกจากจะทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังช่วยพักความคิดจากเรื่องที่เรากำลังกังวลอีกด้วย

  • Live healthy รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำเปล่าเยอะ ๆ

  • Reframe the way you look at work ลองเปลี่ยนมุมมองต่องานใหม่ ปรับทัศนคติที่มีต่องาน มองหาคุณค่าในงานที่ทำ นึกย้อนกลับไปถึงเหตุผลที่เราเลือกทำงานนี้ จะทำให้เรามีความสุขกับงานและมีแรงจูงใจในการทำงานมากขึ้น

  • Be more optimistic หัดมองโลกในแง่ดี เปิดใจให้คนรอบข้าง

  • Take time off หยุดพักบ้าง ให้ร่างกายและจิตใจได้พักผ่อน ใช้เวลากับตัวเองหรือคนที่เรารัก

  • Take a break from technology หลายคนมักจะพักผ่อนด้วยการเล่นมือถือ ดูโทรทัศน์ เล่นโซเชียลมีเดีย แต่แท้จริงแล้วการที่เราเล่นมือถือนั้น แทนที่จะเป็นการพักผ่อนกลับเป็นการทำลายสุขภาพของเรา นอกจากจะทำให้ปวดหัวและเสียสายตาแล้ว การใช้โซเชียลมีเดียตลอดเวลายังทำให้เกิดความเครียดโดยไม่รู้ตัวอีกด้วย ดังนั้นลอง Social Detox ปิดมือถือสักวัน แล้วลองหากิจกรรมอื่น ๆ ทำแทน หรือถ้าไม่มีเวลาก็กำหนดช่วงเวลา No Screen Time ในแต่ละวันก็ได้เช่นกัน


เขียนโดย ธนนันท์ ศรีบุญเรือง ออกแบบโดย เกวลิน ศรีสุนนท์


แหล่งอ้างอิง:

WebMD Editorial Contributors. (2563). Burnout: Symptoms and Signs. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.webmd.com/mental-health/burnout-symptoms-signs

Melinda Smith, M.A., Jeanne Segal, Ph.D., and Lawrence Robinson. (2564). Burnout Prevention and Treatment. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.helpguide.org/.../burnout-prevention-and...

โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน. (2564). เครียดเกินไป ระวัง BURNOUT SYNDROME ภาวะหมดไฟในการทำงาน. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.paolohospital.com/.../%E0%B9%80%E0%B8%84%E0...

ดู 315 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page