top of page
Writer's pictureYou-Dee Organization

Self-Esteem คืออะไร?

Updated: Feb 7, 2022


Self-Esteem

Self-Esteem คืออะไร ?

Self-Esteem คือ การเห็นคุณค่าในตัวเองหรือการมีมุมมองต่อตนเอง (Self-Concept) ที่ดี เป็นการให้คุณค่าและความสำคัญกับภาพลักษณ์ ความสำเร็จ และความสามารถของตนเอง[1] โดยสามารถแบ่งระดับของ Self-Esteem ได้เป็น ต่ำ (Low Self-Esteem), สูง (High Self-Esteem) และ สูงเกินความเป็นจริง (Inflated Self-Esteem) การมี Self-Esteem ที่สูงไม่ใช่เพียงแค่ความภูมิใจในตนเอง แต่รวมถึงการให้ความรัก คุณค่า เกียรติ และความสำคัญต่อตนเอง รวมถึงการเชื่อในความสามารถของตนเอง และในอิสระในการทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง[2] นอกจากนี้ Self-Esteem ยังเกี่ยวข้องกับความรู้สึกต่อมุมมอง การปฏิบัติ หรือ การให้คุณค่าของผู้อื่นต่อตนเอง[3]


ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อ Self-Esteem

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อ Self-Esteem ได้แก่

  • พันธุกรรม

  • ลักษณะนิสัย

  • ประสบการณ์ชีวิต

  • อายุ

  • สุขภาพ

  • รูปแบบความคิด

  • สถานะทางสังคม[4]

  • ปฏิกิริยาของผู้อื่น

  • การเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่น

นอกจากนี้การเหยียดสีผิวหรือการแบ่งแยกทางสังคมก็มีอิทธิพลต่อ Self-Esteem เช่นกัน[5] แต่ปัจจัยที่มีอิทธิพลที่สุดคือ ประสบการณ์ชีวิต


Self-Esteem ต่ำ เป็นอย่างไร ? และ Self-Esteem ต่ำ มีผลกระทบอย่างไรบ้าง ?

  • ตัวอย่างลักษณะของ Self-Esteem ต่ำ

    • ช่วยเหลือคนอื่น เพราะไม่อยากถูกมองว่าเห็นแก่ตัวหรือดูไม่ดีในสายตาผู้อื่น

    • โมโห หรือ รำคาญง่าย

    • มองว่าความคิดเห็นของตนเองไม่สำคัญ

    • เกลียดตัวเอง

    • ไม่เคยรู้สึกพอใจกับการกระทำของตนเอง

    • รู้สึกว่าโลกนี้ไม่ปลอดภัย

    • ไม่มั่นใจกับการตัดสินใจของตนเอง

    • รู้สึกเศร้าหรือไร้ค่าเป็นประจำ

    • ไม่กล้าที่จะลองเสี่ยงหรือทำสิ่งใหม่ ๆ

    • รู้สึกว่าการตั้งขอบเขตเป็นเรื่องยาก

    • ให้ความสำคัญกับจุดอ่อนตนเองมากกว่าจุดแข็ง

    • มักตั้งคำถามถึงตัวตนของตนเอง

    • รู้สึกว่าประสบการณ์แย่ ๆ เป็นเรื่องเหน็ดเหนื่อย

    • ไม่กล้าปฏิเสธผู้อื่น

    • รู้สึกว่าการทำตามความต้องการของตนเองเป็นเรื่องยาก

    • ตั้งคำถามถึงความสามารถและความสำเร็จของตนเอง

    • เปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่น และมักมองว่าตัวเองด้อยกว่าผู้อื่น

  • การตอบสนอง

    • ตรงข้ามกับผู้ที่มี Self-Esteem ที่สูงที่สามารถไม่ให้ความสนใจกับเหตุการณ์แย่ ๆ หรือความคิดด้านลบของผู้อื่นต่อตนเอง ผู้ที่มี Self-Esteem ต่ำมักจะเก็บคำติเตียนต่าง ๆ ไปคิด และมักคิดว่าปัญหาของผู้อื่นคือปัญหาของตนเอง[14] ซึ่งสิ่งนี้จะทำให้ผู้ที่ Self-Esteem ต่ำตอบสนองต่อสถานการณ์ต่าง ๆ มากกว่า และมักจะให้ความสำคัญกับการสำรวจความรู้สึกตนเอง ก้าวข้ามอุปสรรคและมองชีวิตในมุมมองที่ดีได้น้อยกว่า

  • เสี่ยงต่อภาวะทางจิตต่าง ๆ เช่น โรคซึมเศร้า

    • Self-Esteem ต่ำ ต่างจากการที่อารมณ์ไม่ดี เป็นเรื่องปกติที่จะอารมณ์ไม่ดีเมื่อเกิดเรื่องแย่ ๆ แต่โดยปกติความรู้สึกนี้ไม่นานก็จะผ่านไป โดยเฉพาะกับผู้ที่มี Self-Esteem สูงที่จะไม่ทำให้ความรู้สึกเหล่านั้นกระทบกับคุณค่าของตนเอง ซึ่งต่างจากผู้ที่มี Self-Esteem ต่ำที่ในสถานการณ์ส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเหตุการณ์ดีหรือร้าย มักจะมองตนเองในด้านลบอย่างต่อเนื่อง

    • Self-Esteem ต่ำกับการมีภาวะทางจิตมีความสัมพันธ์กันค่อนข้างมาก เช่น การมี Self-Esteem ที่ต่ำอาจส่งผลให้เกิดโรคซึมเศร้าได้[15] นอกจากนี้อาจส่งผลให้เกิดปัญหาทางอารมณ์ ความเครียด โรควิตกกังวลโดยเฉพาะกลุ่ม Social Phobia และกลุ่ม Social Anxiety Disorder ภาวะผิดปกติทางการกิน (Eating Disorder) การติดยา และความคิดฆ่าตัวตายได้[7]


  • พฤติกรรมเสี่ยง

    • การศึกษาพบว่า Self-Esteem ที่ต่ำมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพ เช่น การเสพยา การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การเมาแล้วขับรถ การทำร้ายตนเอง การสูบบุหรี่ หรือ การใช้อาวุธ[16] ซึ่งมีความสัมพันธ์โดยเฉพาะกับช่วงวัยรุ่นเนื่องจากเป็นช่วงกำลังพัฒนาทักษะบริหารจัดการตนเอง[17]


Self-Esteem สร้างได้อย่างไร ?

  • ยอมรับคำชม เนื่องจากความรู้สึกที่จะปฏิเสธคำชมส่งผลให้มี Self-Esteem ที่ต่ำ[20] ดังนั้นเราควร รับฟังคำชมและยอมรับมัน

  • ให้อภัยตัวเองเมื่อทำผิดพลาดและทิ้งความคิดแย่ ๆ เกี่ยวกับตนเองไป ไม่มีใครสมบูรณ์แบบหรือรักทุกอย่างเกี่ยวกับตัวเอง เพราะฉะนั้นอย่าคาดหวังเช่นนั้น

  • รักและเคารพตัวเอง แม้จะมีข้อบกพร่องใด ๆ ก็ตาม

  • ให้คุณค่ากับตนเอง หาคุณค่าของตนเองและภูมิใจกับเอกลักษณ์ของตนเอง

  • เห็นถึงความสำคัญของการมี Self-Esteem สูง

  • หาความช่วยเหลือ อาจผ่านการบำบัด เช่น การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy หรือ CBT) เพื่อให้มองเห็นถึงปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการมองตัวเองในด้านบวก และสร้างทักษะในการลดการพูดลบกับตนเองและมองตัวให้ให้เป็นบวกมากขึ้น

  • เขียนบันทึกความภูมิใจในตนเอง เขียนเรื่องราวดี ๆ ในชีวิตตนเอง สิ่งที่ชอบเกี่ยวกับตนเอง ความสำเร็จหรือสิ่งที่ตนเองภูมิใจ และนำกลับมาอ่านเมื่อรู้สึกไม่ดี

  • บันทึกความคิดตนเอง เมื่อมีความคิดในแง่ลบขึ้นมา ให้เลือกที่จะแก้ปัญหากับความคิดลบนั้นหรือปล่อยผ่านไป และเมื่อมีความคิดในแง่บวก ให้ขยายความคิดนั้น

  • มองตัวเองเหมือนกับเป็นเพื่อนคนหนึ่ง อาจจะทำให้มีความอดทน สนับสนุน ภูมิใจและใจดีกับตนเองมากกว่าปกติ

  • ถ้ามีอะไรที่ตนเองรู้สึกไม่พอใจและสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ให้วางแผนแก้ไขและนำมาปฏิบัติตามแผน

  • ตั้งเป้าหมายที่เป็นจริงได้ ควรเป็นเป้าหมายที่เล็กและสามารถเปลี่ยนแปลงได้


Self-Esteem สูง เป็นอย่างไร ?

การมี Self-Esteem ที่สูง คือ การภูมิใจในจุดแข็งของตนเอง ท้าทายจุดอ่อนต่าง ๆ ของตนเอง และการมีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและชีวิต


การมี Self-Esteem สูงไม่ได้หมายความว่าจะต้องรักทุกด้านของตนเองหรือคิดว่าตัวเองสมบูรณ์แบบ การตำหนิตนเองหรือรู้สึกภูมิใจบางส่วนของตนเองน้อยกว่าด้านอื่น ๆ เป็นเรื่องปกติแม้จะมี Self-Esteem สูงก็ตาม


Self-Esteem สูงไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับลักษณะตามค่านิยมของสังคม เช่น ผู้ที่ถูกมองว่าหน้าตาดี มีการงานที่ดี สุขภาพที่ดี อาจไม่จำเป็นต้องมี Self-Esteem ที่ดีก็ได้[6]


ตัวอย่างลักษณะของการมี Self-Esteem สูง เช่น

  • ไม่จมปลักกับเรื่องราวแย่ ๆ ในอดีต

  • เชื่อว่าตัวเองเท่าเทียมกับผู้อื่น ไม่เหนือหรือต่ำต้อยกว่าผู้อื่น

  • กล้าที่จะแสดงความเห็นและความต้องการของตัวเอง

  • มีความมั่นใจในตนเอง

  • กล้าที่จะปฏิเสธ

  • มีมุมมองต่อชีวิตที่ดี

  • เห็นจุดแข็งและจุดอ่อนของตนเองและกล้าที่จะยอมรับมัน

  • มองเห็นคุณค่าของผู้อื่นและให้การยอมรับพวกเขา

  • มองโลกตามความเป็นจริง

  • รู้คุณค่าของตนเองและใช้ชีวิตให้สอดคล้องกับคุณค่านั้น ๆ

  • มุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนชีวิตผู้อื่นให้ดีขึ้น


ความสำคัญของการมี Self-Esteem สูง

Self-Esteem เป็นส่วนที่สำคัญที่ทำให้มีสุขภาพจิตที่ดี เนื่องจากการมี Self-Esteem ที่สูงจะทำให้เกิดพัฒนาการของทักษะการแก้ไข เผชิญหน้าและรับมือกับปัญหา และสามารถมองเห็นภาพรวมของเรื่องลบ ๆ ได้ชัดเจนขึ้น นอกจากนี้การมี Self-Esteem จะทำให้ไม่จมปลัก โทษตัวเอง ตั้งคำถาม สิ้นหวัง หรือรู้สึกกดดันกับด้านที่ตนเองอาจไม่ภูมิใจ และยังสามารถจัดการกับความเครียดและความกดดันจากสังคมรอบตัวได้ดีด้วย[7]


Self-Esteem ยังมีความเชื่อมโยงกับความสัมพันธ์ในครอบครัวที่ดี ความสามารถในการปรับตัวในสังคมและพฤติกรรมเอื้อต่อสังคม (Prosocial behavior) ซึ่งมีงานวิจัยพบว่านักเรียนที่มี Self-Esteem สูงและมีความสัมพันธ์ในครอบครัวที่ดีจะมีโอกาสประสบความสำเร็จสูง และสามารถปรับตัวกับสังคมใหม่ ๆ ได้ดี[8] นอกจากนี้ Prosocial behavior ยังสามารถลดอิทธิพลของสิ่งกระตุ้นความเครียด และทำให้จัดการกับความเครียดได้อย่างมีประสิทธิภาพ[9] ยิ่งไปกว่านั้น Self-Esteem มีความสัมพันธ์กับความมุ่งมั่น ความเชื่อในตนเอง การควบคุมตนเอง[10] และอาจส่งผลให้มีผลการเรียนที่ดีด้วย[11]


การมี Self-Esteem สูง นอกจากจะสามารถป้องกันภาวะทางจิตต่าง ๆ เช่น โรคซึมเศร้า (Depression) หรือโรควิตกกังวล (Anxiety Disorder) เป็นต้น ยังทำให้มีความพึงพอใจกับชีวิต มีความสุขกับงาน มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นที่ดี มีคุณภาพชีวิตโดยรวมที่ดี[12] และมีความสามารถในการคงทัศนคติต่อตนเองในสถานการณ์ที่ยากลำบากได้[13]


การมี Self-Esteem สูงเกินไป

ลักษณะของผู้ที่ Self-Esteem สูงเกินไป เช่น

  • หมกมุ่นกับการทำให้ทุกอย่างสมบูรณ์แบบ

  • เชื่อมั่นว่าตัวเองถูกต้องเสมอ

  • เชื่อว่าตนเองไม่สามารถล้มเหลว

  • เชื่อว่าตนเองเหนือกว่าผู้อื่น

  • แสดงความคิดหรือการกระทำที่อลังการและเกินความสามารถตนเอง เช่น ใช้จ่ายเกินตัว การติดการพนัน เป็นต้น

  • ประเมินความสามารถของตนเองสูงเกินไป


การมี Self-Esteem ที่สูงเกินไปอาจส่งผลตรงข้ามกับการที่มี Self-Esteem สูง และอาจส่งผลกระทบต่าง ๆ ตามมา เช่น

  • เสียโอกาสต่าง ๆ ในชีวิตจากการเชื่อว่าผู้อื่นต่ำต้อยกว่าตนเอง

  • เสียความสัมพันธ์กับผู้อื่นจากความทะนงตน ซึ่งจะทำให้เกิดการตีตัวห่างออกจากผู้อื่น

  • มองไม่เห็นความผิดพลาดของตนเอง ทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหา และอาจโทษ ความผิดให้ผู้อื่นได้

  • จากการศึกษาพบว่า การมี Self-Esteem ที่สูงเกินไปมักจะมีความเชื่อมโยงกับการใช้ความรุนแรง โดยความรู้สึกว่าตัวเองเหนือกว่าผู้อื่นเป็นตัวแปรสำคัญที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมอาชญากรรม[18] อาชญากรส่วนใหญ่มักจะแสดงลักษณะ Narcissism Machiavellianism และ Psychopathy ซึ่งมักจะมีความเกี่ยวข้องกับการมี Self-Esteem ที่มากเกินไป[19] เพราะเขามักจะคิดถึงแต่ตนเอง เพราะฉะนั้นเขาจึงต้องได้รับทุกอย่างที่เขาต้องการ


การมี Self-Esteem ที่สูงเกินไป มักถูกสับสนกับการเป็นโรคหลงตัวเอง (Narcissism) ซึ่งทั้งสองมีความแตกต่างกัน ผู้ที่มีโรคหลงตัวเองไม่จำเป็นต้องมี Self-Esteem ที่สูงเสมอไป อาจจะสูงหรือต่ำก็ได้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์[18] เช่น ผู้ที่เป็น Narcissist อาจจะซ่อนภาพลักษณ์ที่แย่ ความรู้สึกอับอายหรือความโกรธที่มีต่อตนเองอยู่ก็ได้ และอาจมีภาวะทางจิต เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล ความสิ้นหวัง เป็นต้น และมีความสัมพันธ์กับผู้อื่นที่ไม่มั่นคง[19]



เขียนโดย: สิรมน กาญจนจิตกร

แหล่งอ้างอิง

Afolabi, O. A. (2014, July 25). Do self esteem and family relations predict prosocial behaviour and social adjustment of fresh students? Higher Education of Social Science. Retrieved November 24, 2021, from http://www.cscanada.net/index.php/hess/article/view/5127.[8]


AlShawi, A. F., & Lafta, R. K. (2015, February 1). Relation between childhood experiences and adults' self-esteem: A sample from Baghdad. Qatar Medical Journal. Retrieved November 24, 2021, from https://www.qscience.com/content/journals/10.5339/qmj.2014.14.[3]


American Psychological Association. (n.d.). Antisocial Personality Disorder. American Psychological Association. Retrieved November 25, 2021, from https://dictionary.apa.org/antisocial-personality-disorder.


American Psychological Association. (n.d.). Machiavellianism. American Psychological

Association. Retrieved November 25, 2021, from https://dictionary.apa.org/machiavellianism.

American Psychological Association. (n.d.). Psychopathy . American Psychological


Association. Retrieved November 25, 2021, from https://dictionary.apa.org/psychopathy.

American Psychological Association. (n.d.). Self-Esteem. American Psychological Association. Retrieved November 24, 2021, from https://dictionary.apa.org/self-esteem.[1]


Balogh, K. N., Mayes, L. C., & Potenza, M. N. (2013, March 1). Risk-taking and decision-making in youth: Relationships to addiction vulnerability. AKJournals. Retrieved November 25, 2021, from https://akjournals.com/view/journals/2006/2/1/article-p1.xml. [17]


Baumeister, R. F., Smart, L., & Boden, J. M. (1996, January). Relation of threatened egotism to violence and aggression: the dark side of high self-esteem. American Psychological Association. Retrieved November 25, 2021, from https://psycnet.apa.org/record/1996-01716-001. [18]


Brummelman, E., Thomaes, S., & Sedikides, C. (2016, February 10). Separating narcissism from self-esteem - eddie brummelman, Sander Thomaes, Constantine Sedikides, 2016. SAGE Journals. Retrieved November 25, 2021, from https://journals.sagepub.com/doi/10.1177/0963721415619737.


Cherry, K. (2021, April 9). What are the signs of healthy or low self-esteem? Verywell Mind. Retrieved November 24, 2021, from https://www.verywellmind.com/what-is-self-esteem-2795868#theories.


Duraku, Z. H., & Hoxha, L. (2018, September 12). Self-esteem, study skills, self-concept, social support, psychological distress, and coping mechanism effects on test anxiety and academic performance - Zamira Hyseni Duraku, Linda Hoxha, 2018. SAGE Journals. Retrieved November 24, 2021, from https://journals.sagepub.com/doi/10.1177/2055102918799963.[11]


Kacel, E. L., Ennis, N., & Pereira, D. B. (2017, August 2). Narcissistic personality disorder in Clinical Health Psychology Practice: Case studies of comorbid psychological distress and life-limiting illness. Taylor & Francis. Retrieved November 25, 2021, from https://www.tandfonline.com/doi/full/10.1080/08964289.2017.1301875. [19]


Gartland, D., Riggs, E., Muyeen, S., Giallo, R., Afifi, T. O., MacMillan, H., Herrman, H., Bulford, E., & Brown, S. J. (2019, April 1). What factors are associated with resilient outcomes in children exposed to social adversity? A systematic review. BMJ Open. Retrieved November 25, 2021, from https://bmjopen.bmj.com/content/9/4/e024870.[16]


Henriksen, I. O., Ranøyen, I., Indredavik, M. S., & Stenseng, F. (2017, December 29). The role of self-esteem in the development of psychiatric problems: A three-year prospective study in a clinical sample of adolescents. Child and Adolescent Psychiatry and Mental Health. Retrieved November 24, 2021, from https://capmh.biomedcentral.com/articles/10.1186/s13034-017-0207-y.[13]


Kalvin, C. B., Bierman, K. L., & Gatzke-Kopp, L. M. (2016, March 4). Emotional reactivity, behavior problems, and social adjustment at school entry in a high-risk sample. Research on Child and Adolescent Psychopathology. Retrieved November 25, 2021, from https://link.springer.com/article/10.1007%2Fs10802-016-0139-7. [14]


Kille, D. R., Eibach, R. P., Wood, J. V., & Holmes, J. G. (2016, June 1). Who can't take a compliment? the role of construal level and self-esteem in accepting positive feedback from close others. Journal of Experimental Social Psychology. Retrieved November 25, 2021, from https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0022103116302943?via%3Dihub. [20]


Laws, H. B., Raposa, E. B., & Ansell, E. B. (2015, December 10). Prosocial behavior mitigates the negative effects of stress in everyday life - Elizabeth B. Raposa, Holly B. Laws, Emily B. Ansell, 2016. SAGE Journals. Retrieved November 24, 2021, from https://journals.sagepub.com/doi/10.1177/2167702615611073.[9]


Mares, S., de Leeuw, R., Scholte, R., & Engels, R. (2010, August 11). Facial attractiveness and self-esteem in adolescence. Taylor & Francis. Retrieved November 24, 2021, from https://www.tandfonline.com/doi/abs/10.1080/15374416.2010.501292.[6]


Meškauskienė, A. (2013, August 6). Schoolchild's self-esteem as a factor influencing motivation to learn. Procedia - Social and Behavioral Sciences. Retrieved November 24, 2021, from https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1877042813012354.[2]


Nguyen, D. T., Wright, E. P., Dedding, C., Pham, T. T., & Bunders, J. (2019, September 27). Low self-esteem and its association with anxiety, depression, and suicidal ideation in Vietnamese secondary school students: A cross-sectional study. Frontiers. Retrieved November 24, 2021, from https://www.frontiersin.org/articles/10.3389/fpsyt.2019.00698/full#B19.[7]


Orth, U., Robins, R. W., & Widaman, K. F. (2012). Life-span development of self-esteem and its effects on important life outcomes. American Psychological Association. Retrieved November 24, 2021, from https://doi.apa.org/doiLanding?doi=10.1037%2Fa0025558.[12]


Park, K., & Yang, T.-C. (2017, June 19). The long-term effects of self-esteem on depression: The roles of alcohol and substance use during young adulthood. Taylor & Francis. Retrieved November 25, 2021, from https://www.tandfonline.com/doi/abs/10.1080/00380253.2017.1331718?journalCode=utsq20. [15]


Simmen-Janevska, K., Brandstätter, V., & Maercker, A. (2012, October 31). The overlooked relationship between motivational abilities and posttraumatic stress: A Review. Taylor & Francis. Retrieved November 24, 2021, from https://www.tandfonline.com/doi/full/10.3402/ejpt.v3i0.18560.[10]


Valeria. (2021, November 15). The dangers of excessively high self-esteem. Exploring your mind. Retrieved November 25, 2021, from https://exploringyourmind.com/the-dangers-of-excessively-high-self-esteem/.


Vanbuskirk, S. (2021, February 24). Why it's important to have high self-esteem. Verywell Mind. Retrieved November 24, 2021, from https://www.verywellmind.com/why-it-s-important-to-have-high-self-esteem-5094127#citation-24.


Von Soest, T., Wagner, J., Hansen, T., & Gerstorf, D. (2017, February 2). Apa PsycNet. American Psychological Association. Retrieved November 24, 2021, from https://doi.apa.org/doiLanding?doi=10.1037%2Fpspp0000123.[4]


What is self-esteem? A psychologist explains [2020 update]. PositivePsychology.com. (2021, January 18). Retrieved November 24, 2021, from https://positivepsychology.com/self-esteem/.

|, A. J. J. (2020, May 13). Examining associations between racism, internalized shame, and self-esteem among African Americans. Taylor & Francis. Retrieved November 24, 2021, from https://www.tandfonline.com/doi/full/10.1080/23311908.2020.1757857. [5]




163 views0 comments

Comments


bottom of page